พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ค้นหาข้อมูล
เข้าสู่ระบบ
พระถ้ำเสือ พิมพ...
พระถ้ำเสือ พิมพ์เล็กหน้าแก่ สุพรรณบุรี
พระถ้ำเสือ เดิมเชื่อกันว่าเป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยา เพราะพบที่อำเภออู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นเมืองเอกในสมัยอยุธยา และอำเภออู่ทอง ตามประวัติศาสตร์ที่ร่ำเรียนกันมาก็เขียนว่า เป็นเมืองที่พระเจ้าอู่ทองเคยมาครองเมืองอยู่ก่อนที่จะย้ายไปสร้างกรุงศรีอยุธยาโดยสันนิษฐานกันว่า เนื่องจากแม่น้ำเปลี่ยนทางเดินหรือเกิดโรคระบาด จึงต้องย้ายเมืองไปโดยเหตุผลรวมๆ กันดังกล่าวข้างต้น และมิได้มีการศึกาพระถ้ำเสือกันอย่างจริงจัง ก็ด่วนสรุปว่า พระถ้ำเสือเป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยาแต่บางท่านก็เห็นว่าศิปะของพระถ้ำเสือใกล้เคียงกับศิลปะทวาราวดีจึงสรุปเอาว่าพระถ้ำเสือเป็นพระสมัยอยุธยาล้อสมัยทวาราวดี หรือเป็นพระสร้างสมัยอยุธยาแต่ไปลอกเลียนแบบพระสมัยทวาราวดีนั้นเอง
ต่อมาอาจารย์มนัส โอภากุล ได้เริ่มศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพระถ้ำเสืออย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และพุทธศิลป์ ผนวกกับสิ่งแวดล้อมต่างๆจนได้ข้อสรุปว่าพระถ้ำเสือเป็นพระที่สร้างสมัยทวาราวดีตอนปลาย โดยมีเหตุผลที่สำคัญ คือ พระถ้ำเสือมีศิลปะสมัยทวาราวดี และสถานที่พบก็พบในถ้ำบนภูเขาอันเป็นดินแดนแห่งทวาราวดี คืออำเภออู่ทองเพียงอำเภอเดียวเท่านั้น ส่วนอำเภอต่างๆในจังหวัดสุพรรณบุรีไม่เคยพบเลย และอาจารย์มนัส โอภากุล ได้พิจารณาถึงพุทธลักษณะของพระถ้ำเสือแล้ว พิจารณาว่า เป็นศิลปะสมัยทวาราวดีอย่างชัดแจ้ง คือพระถ้ำเสือ มีพระพักตร์ใหญ่ พระหนุหนา พระเนตรโปน พระขนง(คิ้ว)เป็นสันนูน พระนลาฎแคบ พระเภสโมลีสั้น พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์กว้าง ซึ่งพุทธลักษณะดังกล่าวนี้ป็นพุทธลักษณะของพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี ตามที่กล่าวมาถึงขั้นนี้เป็นผลของการศึกษาค้นคว้าของอาจารย์มนัส โอภากุล
สำหรับในทัศนะของผู้เขียนแล้ว มีความเห็นว่า ในการวิเคราะห์พระถ้ำเสือว่าสร้างในสมัยใด มีเรื่องใหญ่ๆ 2เรื่อง ที่โดยทั่วไปแล้ว นักโบราณคดีจะต้องนำมาพิจารณา คือศิลปะของวัตถุนั้นและประวัติศาสตร์โบราณคดีของสถานที่พบในเรื่องศิลปะของพระถ้ำเสือ ผู้เขียนได้พยายามค้นคว้าศึกษา และพิจารณาจากภาพถ่ายและองค์จริงของพระถ้ำเสือกรุต่างๆทั้งกรุเก่าถ้ำเสือ(เขาคอก)กรุเขาพระ(ศรีสรรเพช)กรุวัดหลวง กรุเขาดีสลัก กรุเขาพระ(จร้า)และกรุวัดเขาวงษ์ ของพระพิมพ์องค์เล็กกว่า 400พิมพ์ และพระขนาดบูชาอีกกว่า 20พิมพ์แล้ว มีความเห็นว่า พระถ้ำเสือนี้มีศิลปะใกล้เคียงกับศิลปะทวาราวดี ซึ่งอาจจะสร้างในสมัยทวาราวดีตอนต้น หรือก่อนสมัยทวาราวดีก็เป็นไปได้ค่อนข้างมาก โดยมีข้อสรุปในประเด็นต่างๆดังนี้
1)หากจะพิจารณาพุทธศิลป์ในสมัยต่างๆ ตั้งแต่สมัยทวาราวดี ศรีวิชัย เชียงแสน สุโขทัย ลพบุรี อยุธยาถึงรัตนโกสินทร์แล้ว จะเห็นว่าพระถ้ำเสือมีศิลปะที่ใกล้เคียงกับสมัยทวาราวดีแต่ไม่มีลักษณะมาทางสมัยเชียงแสน สุโขทัย ลพบุรีหรือสมัยที่หลังกว่าสมัยทวาราวดีเลยจึงอาจเป็นไปได้ว่า พระถ้ำเสือสร้างในยุคก่อนสมัยทวาราวดี เพราะศิลปะองค์พระเหมือนกับพระพุทธรูปยุคแรกที่มีการสร้างรูปเคารพของพระพุทธเจ้าขึ้นมา คือเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.600 เป็นต้นมา
2)พิมพ์พระถ้ำเสือที่เห็นมีทั้งหน้าพุทธ หน้าเทวดา หน้าฤาษี(มีเยอะมาก)บางพิมพ์เป็นองค์พระฤาษีเลย กรุเขาคอก(วัดถ้ำเสือ)มีการพบพระถ้ำเสือพิมพ์พิฆเนศด้วย กรุเขาพระ(ศรีสรรเพช)พบพระพิมพ์พระฤาษีจำนวนมาก กรุเขาพระ(จร้า)มีพระถ้ำเสือหน้าคล้ายพระผงสุพรรณมีจมูกยาวคล้ายวงช้างและหูใหญ่เหมือนหุช้าง มีพระบางพิมพ์มีท้องใหญ่คล้ายท้องพระสังกัจจายน์หรือเหมือนท้องช้างนั่นเอง กรุวัดเขาดีสลัก กรุวัดเขาวงษ์ มีพระถ้ำเสือพิมพ์เปาบุ้นจิ้นตาเฉียงขึ้นแบบศิลปะจีน หรือตาเฉียงแบบตาช้าง เช่นเดียวกับตาของพระพิฆเนศ
ที่สำคัญคือพระพิมพ์ถ้ำเสือที่ได้พบทั้งหมดมีน้อยมากที่จะมีพระศกเป็นเม็ดเป็นตุ่มของพระพุทธเจ้า ส่วนใหญ่ถ้าเป็นหน้าพระพุทธหรือหน้าเทวดาจะเป็นคล้ายหมวกหรือชฎาครอบอยู่บนศรีษะและมีส่วนที่ห้อยมาปิดหูเหมือนพระอินเดียหรือพระธิเบตก่อนสมัยทวาราวดีทั้งสิ้น
3)พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งพระ 2รูปคือพระโสณะและพระอุตตระมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สุวรรณภูมิเป็นครั้งแรกราว พ.ศ.300และในสมัยเดียวกันก็มีพรหมณ์รวมทั้งนักบวช ฤาษีปะปนกัน พระถ้ำเสือจึงมีพิมพ์พระพิฆเนศ ฤาษี เทวดา พระพุทธ ยักษ์ (ท้าวกุเวร หรือท้าวเวสสุวัณ) ทั้งนี้ เพราะได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดู ดินแดนแห่งนี้ได้นับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก พระถ้ำเสือจึงน่าจะสร้างก่อนสมัยทวาราวดี คือสร้างระหว่าง พ.ศ.600-1100 ซึ่งมีการนับถือศาสนาตามที่กล่าวข้างต้นปะปนกันอยู่
4)สถานที่พบพระถ้ำเสืออยู่ในถ้ำบนภูเขาที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นในสมัยก่อนที่จะมีการสร้างวัดให้พระจำพรรษาเช่นปัจจุบัน นักบวชไม่ว่าพุทธ หรือพราหมณ์ หรือฤาษี จะใช้ถ้ำในภูเขาเป็นศาสนาสถานสำหรับทำศาสนาพิธี พระถ้ำเสือจึงอาจสร้างขึ้นก่อนที่จะมีวัดในที่ราบต่ำลงมา
5)พระถ้ำเสือบางองค์มีเปลือกหอยติดอยู่ แสดงว่าดินที่ใช้ทำใกล้กับทะเล ซึ่งในสมัย 1500 ปีที่แล้วมา เขตฝั่งของอ่าวไทยขึ้นไปถึงจังหวัดราชบุรี นครชัยศรี อู่ทอง ลพบุรี นครนายก ดินแดน แถบอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี กรุงเทพฯ ยังเป็นทะเลอยู่ พระถ้ำเสือจึงน่าจะสร้างมาก่อน 1300 ปีขึ้นไป
6)พระถ้ำเสือขนาดบูชาของกรุเขาพระ(จร้า)หลายพิมพ์มีหน้าตาคล้ายศิลปะจีนมีตาเฉียงขึ้น บางองค์ใส่หมวกคล้ายตัวละครสมัยสามกีก ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ 1500ปี พระถ้ำเสือกรุนี้จึงน่าจะมีอะไรเกี่ยวกับชาวจีนบ้าง ซึ่งเกิดก่อนสมัยทวาราวดีทั้งสิ้น
7)พระถ้ำเสือเป็นพระที่ใช้แม่พิมพ์ตัวเมียเพียงตัวเดียว หลังพระเป็นทรงนูนเหมือนลักษณะหลังของพระรอด พระคง พระเปิม ซึ่งเป็นพระที่สร้างในสมัยทวาราวดีทั้งสิ้นและนิยมสร้างเป็นพระเนื้อดิน เอาดินที่ปั้นเป็นก้อนเล็กกดลงเบ้าพิมพ์และตกแต่งดินที่เหลือให้เป็นหลังนูนขึ้นมา ในสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยาถึงปัจจุบัน การสร้างพระส่วนใหญ่ด้านหลังพระจะแบน เช่น พระกำแพงซุ้มกอ พระผงสุพรรณ พระนางพญา จะใช้มวลสารกดลงไปแล้วแต่งข้างหลังให้แบนเมื่อดินเนื้อมวลสารเกินเบ้า ก้จะตัดขอบให้ได้ขนาด ซึ่งเป็นการสร้างพระในสมัยหลัง ดังนั้นพระถ้ำเสือเป็นพระที่มีหลังนูน กดพิมพ์ของพระรอด พระคง และพระสมัยทวาราวดีจะไม่นิยมตัดเนื่อพระออก ซึ่งเป็นพระที่สร้างเก่าก่อนทั้งสิ้น จากเหตุผลดังกล่าวมาข้างต้นจึงเพียงพอที่จะสรุปได้ว่าพระถ้ำเสือ สร้างในสมัยที่ไม่ต่ำกว่าสมัยทวาราวดี โดยอาจจะอยู่ในช่วงทวาราวดีตอนต้นหรือก่อนช่วงนั้น และที่ว่าเป็นพระพิมพ์แรกของสุวรรณภูมิ ก็คงไม่ผิดไปจากนี้
8)พระถ้ำเสือพบบนเขาในถ้ำ ในบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง มีการค้นพบซากโบราณสถาน จำนวนมาก ส่วนใหญ่จะเป็นฐานสถูปเจดีย์และวิหารที่มีรูปลักษณะคล้ายศิลปะอินเดียของราชวงษ์คุปตะ หลังคุปตะ และราชวงศ์ปาละ มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-16 ซึ่งอยู่ในช่วงสมัยทวาราวดี ในโบราณสถานเหล่านี้ไม่พบพระพิมพ์ขนาดเล็กแบบพระถ้ำเสืออยู่ด้วยเลย พระพิมพ์ขนาดเล็กแบบพระเม็ดกระดุม และพิมพ์สี่เหลี่ยมปางยมกปาฏิหาริย์จะพบในเจดีย์บนเขาทำเทียม ซึ่งเป็นพระที่สร้างในสมัยศรีวิชัย พระที่เป็นเนื้อโลหะขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นพระขนาดบูชา ก็พบในเจดีย์หรือสถูป ซึ่งอยู่สมัยศรีวิชัยหรือทวาราวดีทั้งสิ้น ส่วนที่เป็นเนื้อดินจะมีแต่สมัยอมราวดี ซึ่งเป็นสมัยก่อนสมัยทวาราวดี พระถ้ำเสือเป็นพระเนื้อดินที่สร้างแล้วเก็บไว้ในถ้ำ จึงน่าที่จะเป็นพระพิมพ์ที่สร้างขึ้นก่อนสมัยทวาราวดี
ผู้เข้าชม
13790 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
เปิดให้บูชา
โดย
makara995
ชื่อร้าน
มะกะระ พระกรุ
ร้านค้า
makara.99wat.com
โทรศัพท์
0813116011
ไอดีไลน์
0818306399
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
244-0-006xx-x
พระรอดเมืองใต้ พระขรัวอีโต้ กท
พระสมเด็จปิลีนท์ พิมพ์ปรกโพธิ์
พระพลายคู่บ้านกร่าง สุพรรณบุรี
พระแผงสิบชาติกรุวัดกระชายหรือว
พระเชตุพน หน้าโหนก จ-กำแพงเพชร
พระท่ากระดาน สนิมแดง เมืองกาญจ
พระนาคปรกพิมพ์เล็ก ลพบุรี
พระกำแพงพุทธกวัก กรุหนองลังกา
พระปางประทานพร พิมพ์เล็ก เนื้อ
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
ลงพระฟรี
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ลืมรหัสผ่าน
ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
somphop
someman
อี๋ ล็อคเกต
fuchoo18
บี บุรีรัมย์
Chobdoysata
chaithawat
natthanet
ภูมิ IR
vanglanna
kaew กจ.
เทพจิระ
Le29Amulet
เปียโน
หริด์ เก้าแสน
supanporn
เพชร สารคาม
TotoTato
มนต์เมืองจันท์
ยอด วัดโพธิ์
BAINGERN
niyombucha
เธียร
pipat
โกหมู
ปราสาทมรกต
Achi
JO RAYONG
ระ คลองสาม
termboon
ผู้เข้าชมขณะนี้ 935 คน
เพิ่มข้อมูล
พระถ้ำเสือ พิมพ์เล็กหน้าแก่ สุพรรณบุรี
ส่งข้อความ
ชื่อพระเครื่อง
พระถ้ำเสือ พิมพ์เล็กหน้าแก่ สุพรรณบุรี
รายละเอียด
พระถ้ำเสือ เดิมเชื่อกันว่าเป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยา เพราะพบที่อำเภออู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นเมืองเอกในสมัยอยุธยา และอำเภออู่ทอง ตามประวัติศาสตร์ที่ร่ำเรียนกันมาก็เขียนว่า เป็นเมืองที่พระเจ้าอู่ทองเคยมาครองเมืองอยู่ก่อนที่จะย้ายไปสร้างกรุงศรีอยุธยาโดยสันนิษฐานกันว่า เนื่องจากแม่น้ำเปลี่ยนทางเดินหรือเกิดโรคระบาด จึงต้องย้ายเมืองไปโดยเหตุผลรวมๆ กันดังกล่าวข้างต้น และมิได้มีการศึกาพระถ้ำเสือกันอย่างจริงจัง ก็ด่วนสรุปว่า พระถ้ำเสือเป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยาแต่บางท่านก็เห็นว่าศิปะของพระถ้ำเสือใกล้เคียงกับศิลปะทวาราวดีจึงสรุปเอาว่าพระถ้ำเสือเป็นพระสมัยอยุธยาล้อสมัยทวาราวดี หรือเป็นพระสร้างสมัยอยุธยาแต่ไปลอกเลียนแบบพระสมัยทวาราวดีนั้นเอง
ต่อมาอาจารย์มนัส โอภากุล ได้เริ่มศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพระถ้ำเสืออย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และพุทธศิลป์ ผนวกกับสิ่งแวดล้อมต่างๆจนได้ข้อสรุปว่าพระถ้ำเสือเป็นพระที่สร้างสมัยทวาราวดีตอนปลาย โดยมีเหตุผลที่สำคัญ คือ พระถ้ำเสือมีศิลปะสมัยทวาราวดี และสถานที่พบก็พบในถ้ำบนภูเขาอันเป็นดินแดนแห่งทวาราวดี คืออำเภออู่ทองเพียงอำเภอเดียวเท่านั้น ส่วนอำเภอต่างๆในจังหวัดสุพรรณบุรีไม่เคยพบเลย และอาจารย์มนัส โอภากุล ได้พิจารณาถึงพุทธลักษณะของพระถ้ำเสือแล้ว พิจารณาว่า เป็นศิลปะสมัยทวาราวดีอย่างชัดแจ้ง คือพระถ้ำเสือ มีพระพักตร์ใหญ่ พระหนุหนา พระเนตรโปน พระขนง(คิ้ว)เป็นสันนูน พระนลาฎแคบ พระเภสโมลีสั้น พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์กว้าง ซึ่งพุทธลักษณะดังกล่าวนี้ป็นพุทธลักษณะของพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี ตามที่กล่าวมาถึงขั้นนี้เป็นผลของการศึกษาค้นคว้าของอาจารย์มนัส โอภากุล
สำหรับในทัศนะของผู้เขียนแล้ว มีความเห็นว่า ในการวิเคราะห์พระถ้ำเสือว่าสร้างในสมัยใด มีเรื่องใหญ่ๆ 2เรื่อง ที่โดยทั่วไปแล้ว นักโบราณคดีจะต้องนำมาพิจารณา คือศิลปะของวัตถุนั้นและประวัติศาสตร์โบราณคดีของสถานที่พบในเรื่องศิลปะของพระถ้ำเสือ ผู้เขียนได้พยายามค้นคว้าศึกษา และพิจารณาจากภาพถ่ายและองค์จริงของพระถ้ำเสือกรุต่างๆทั้งกรุเก่าถ้ำเสือ(เขาคอก)กรุเขาพระ(ศรีสรรเพช)กรุวัดหลวง กรุเขาดีสลัก กรุเขาพระ(จร้า)และกรุวัดเขาวงษ์ ของพระพิมพ์องค์เล็กกว่า 400พิมพ์ และพระขนาดบูชาอีกกว่า 20พิมพ์แล้ว มีความเห็นว่า พระถ้ำเสือนี้มีศิลปะใกล้เคียงกับศิลปะทวาราวดี ซึ่งอาจจะสร้างในสมัยทวาราวดีตอนต้น หรือก่อนสมัยทวาราวดีก็เป็นไปได้ค่อนข้างมาก โดยมีข้อสรุปในประเด็นต่างๆดังนี้
1)หากจะพิจารณาพุทธศิลป์ในสมัยต่างๆ ตั้งแต่สมัยทวาราวดี ศรีวิชัย เชียงแสน สุโขทัย ลพบุรี อยุธยาถึงรัตนโกสินทร์แล้ว จะเห็นว่าพระถ้ำเสือมีศิลปะที่ใกล้เคียงกับสมัยทวาราวดีแต่ไม่มีลักษณะมาทางสมัยเชียงแสน สุโขทัย ลพบุรีหรือสมัยที่หลังกว่าสมัยทวาราวดีเลยจึงอาจเป็นไปได้ว่า พระถ้ำเสือสร้างในยุคก่อนสมัยทวาราวดี เพราะศิลปะองค์พระเหมือนกับพระพุทธรูปยุคแรกที่มีการสร้างรูปเคารพของพระพุทธเจ้าขึ้นมา คือเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.600 เป็นต้นมา
2)พิมพ์พระถ้ำเสือที่เห็นมีทั้งหน้าพุทธ หน้าเทวดา หน้าฤาษี(มีเยอะมาก)บางพิมพ์เป็นองค์พระฤาษีเลย กรุเขาคอก(วัดถ้ำเสือ)มีการพบพระถ้ำเสือพิมพ์พิฆเนศด้วย กรุเขาพระ(ศรีสรรเพช)พบพระพิมพ์พระฤาษีจำนวนมาก กรุเขาพระ(จร้า)มีพระถ้ำเสือหน้าคล้ายพระผงสุพรรณมีจมูกยาวคล้ายวงช้างและหูใหญ่เหมือนหุช้าง มีพระบางพิมพ์มีท้องใหญ่คล้ายท้องพระสังกัจจายน์หรือเหมือนท้องช้างนั่นเอง กรุวัดเขาดีสลัก กรุวัดเขาวงษ์ มีพระถ้ำเสือพิมพ์เปาบุ้นจิ้นตาเฉียงขึ้นแบบศิลปะจีน หรือตาเฉียงแบบตาช้าง เช่นเดียวกับตาของพระพิฆเนศ
ที่สำคัญคือพระพิมพ์ถ้ำเสือที่ได้พบทั้งหมดมีน้อยมากที่จะมีพระศกเป็นเม็ดเป็นตุ่มของพระพุทธเจ้า ส่วนใหญ่ถ้าเป็นหน้าพระพุทธหรือหน้าเทวดาจะเป็นคล้ายหมวกหรือชฎาครอบอยู่บนศรีษะและมีส่วนที่ห้อยมาปิดหูเหมือนพระอินเดียหรือพระธิเบตก่อนสมัยทวาราวดีทั้งสิ้น
3)พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งพระ 2รูปคือพระโสณะและพระอุตตระมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สุวรรณภูมิเป็นครั้งแรกราว พ.ศ.300และในสมัยเดียวกันก็มีพรหมณ์รวมทั้งนักบวช ฤาษีปะปนกัน พระถ้ำเสือจึงมีพิมพ์พระพิฆเนศ ฤาษี เทวดา พระพุทธ ยักษ์ (ท้าวกุเวร หรือท้าวเวสสุวัณ) ทั้งนี้ เพราะได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดู ดินแดนแห่งนี้ได้นับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก พระถ้ำเสือจึงน่าจะสร้างก่อนสมัยทวาราวดี คือสร้างระหว่าง พ.ศ.600-1100 ซึ่งมีการนับถือศาสนาตามที่กล่าวข้างต้นปะปนกันอยู่
4)สถานที่พบพระถ้ำเสืออยู่ในถ้ำบนภูเขาที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นในสมัยก่อนที่จะมีการสร้างวัดให้พระจำพรรษาเช่นปัจจุบัน นักบวชไม่ว่าพุทธ หรือพราหมณ์ หรือฤาษี จะใช้ถ้ำในภูเขาเป็นศาสนาสถานสำหรับทำศาสนาพิธี พระถ้ำเสือจึงอาจสร้างขึ้นก่อนที่จะมีวัดในที่ราบต่ำลงมา
5)พระถ้ำเสือบางองค์มีเปลือกหอยติดอยู่ แสดงว่าดินที่ใช้ทำใกล้กับทะเล ซึ่งในสมัย 1500 ปีที่แล้วมา เขตฝั่งของอ่าวไทยขึ้นไปถึงจังหวัดราชบุรี นครชัยศรี อู่ทอง ลพบุรี นครนายก ดินแดน แถบอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี กรุงเทพฯ ยังเป็นทะเลอยู่ พระถ้ำเสือจึงน่าจะสร้างมาก่อน 1300 ปีขึ้นไป
6)พระถ้ำเสือขนาดบูชาของกรุเขาพระ(จร้า)หลายพิมพ์มีหน้าตาคล้ายศิลปะจีนมีตาเฉียงขึ้น บางองค์ใส่หมวกคล้ายตัวละครสมัยสามกีก ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ 1500ปี พระถ้ำเสือกรุนี้จึงน่าจะมีอะไรเกี่ยวกับชาวจีนบ้าง ซึ่งเกิดก่อนสมัยทวาราวดีทั้งสิ้น
7)พระถ้ำเสือเป็นพระที่ใช้แม่พิมพ์ตัวเมียเพียงตัวเดียว หลังพระเป็นทรงนูนเหมือนลักษณะหลังของพระรอด พระคง พระเปิม ซึ่งเป็นพระที่สร้างในสมัยทวาราวดีทั้งสิ้นและนิยมสร้างเป็นพระเนื้อดิน เอาดินที่ปั้นเป็นก้อนเล็กกดลงเบ้าพิมพ์และตกแต่งดินที่เหลือให้เป็นหลังนูนขึ้นมา ในสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยาถึงปัจจุบัน การสร้างพระส่วนใหญ่ด้านหลังพระจะแบน เช่น พระกำแพงซุ้มกอ พระผงสุพรรณ พระนางพญา จะใช้มวลสารกดลงไปแล้วแต่งข้างหลังให้แบนเมื่อดินเนื้อมวลสารเกินเบ้า ก้จะตัดขอบให้ได้ขนาด ซึ่งเป็นการสร้างพระในสมัยหลัง ดังนั้นพระถ้ำเสือเป็นพระที่มีหลังนูน กดพิมพ์ของพระรอด พระคง และพระสมัยทวาราวดีจะไม่นิยมตัดเนื่อพระออก ซึ่งเป็นพระที่สร้างเก่าก่อนทั้งสิ้น จากเหตุผลดังกล่าวมาข้างต้นจึงเพียงพอที่จะสรุปได้ว่าพระถ้ำเสือ สร้างในสมัยที่ไม่ต่ำกว่าสมัยทวาราวดี โดยอาจจะอยู่ในช่วงทวาราวดีตอนต้นหรือก่อนช่วงนั้น และที่ว่าเป็นพระพิมพ์แรกของสุวรรณภูมิ ก็คงไม่ผิดไปจากนี้
8)พระถ้ำเสือพบบนเขาในถ้ำ ในบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง มีการค้นพบซากโบราณสถาน จำนวนมาก ส่วนใหญ่จะเป็นฐานสถูปเจดีย์และวิหารที่มีรูปลักษณะคล้ายศิลปะอินเดียของราชวงษ์คุปตะ หลังคุปตะ และราชวงศ์ปาละ มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-16 ซึ่งอยู่ในช่วงสมัยทวาราวดี ในโบราณสถานเหล่านี้ไม่พบพระพิมพ์ขนาดเล็กแบบพระถ้ำเสืออยู่ด้วยเลย พระพิมพ์ขนาดเล็กแบบพระเม็ดกระดุม และพิมพ์สี่เหลี่ยมปางยมกปาฏิหาริย์จะพบในเจดีย์บนเขาทำเทียม ซึ่งเป็นพระที่สร้างในสมัยศรีวิชัย พระที่เป็นเนื้อโลหะขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นพระขนาดบูชา ก็พบในเจดีย์หรือสถูป ซึ่งอยู่สมัยศรีวิชัยหรือทวาราวดีทั้งสิ้น ส่วนที่เป็นเนื้อดินจะมีแต่สมัยอมราวดี ซึ่งเป็นสมัยก่อนสมัยทวาราวดี พระถ้ำเสือเป็นพระเนื้อดินที่สร้างแล้วเก็บไว้ในถ้ำ จึงน่าที่จะเป็นพระพิมพ์ที่สร้างขึ้นก่อนสมัยทวาราวดี
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
13847 ครั้ง
สถานะ
เปิดให้บูชา
โดย
makara995
ชื่อร้าน
มะกะระ พระกรุ
URL
http://www.makara.99wat.com
เบอร์โทรศัพท์
0813116011
ID LINE
0818306399
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 244-0-006xx-x
กำลังโหลดข้อมูล
หน้าแรกลงพระฟรี